จากเครื่องใช้ไฟฟ้าสู่ประสบการณ์ - วิวัฒนาการการออกแบบเครื่องปรับอากาศ

Hitachi Cooling & Heating ได้ขยายขีดความสามารถในการพัฒนาการออกแบบอุตสาหกรรมและวิศวกรรมสำหรับเครื่องปรับอากาศมาตลอด 80 ปี โดยใช้ความเชี่ยวชาญ ความทุ่มเท และจินตนาการของเราเข้าไปในแต่ละโครงการและผลิตภัณฑ์ที่นำออกสู่ตลาด
 
ในช่วงเวลานี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญในการออกแบบอุตสาหกรรมได้ขับเคลื่อนความคาดหวังของผู้บริโภค และในทางกลับกันก็สร้างความท้าทายให้เราในการตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคและก้าวไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา
 

เช่นเดียวกับอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนใหญ่ รูปแบบที่ลูกค้ามองเทคโนโลยีนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากการเป็นสิ่งของที่สามารถทำงานได้อย่างเดียวเท่านั้นไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำงานร่วมกับอย่างอื่นได้ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์ในเชิงบวกและประสบการณ์ที่พึงพอใจของลูกค้า Hitachi Cooling & Heating มีการออกแบบและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดยั้ง โดยมุ่งหวังที่จะมอบโซลูชั่นล้ำสมัยให้แก่ลูกค้าเสมอมาและสร้างกิตติศัพท์ด้านคุณภาพที่เป็นหนึ่ง
 

ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ และให้ประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า แบรนด์ต่าง ๆ ก็สามารถได้รับความพึงพอใจและความจงรักภักดีจากลูกค้าแล้ว เราติดตามเรื่องราวเส้นทางของเครื่องปรับอากาศของ Hitachi Cooling & Heating ตั้งแต่อุปกรณ์เครื่องใช้ไปจนถึงประสบการณ์และดูที่ผลิตภัณฑ์ของเราที่เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงวิวัฒนาการของเรา

 

evolution of ac design for customers 

 

แบบฟอร์มตามอะไร? หลักการออกแบบ

 

เมื่อพูดถึงการออกแบบทางวิศวกรรม (หรือวสาขาวิชาการออกแบบอื่นใดก็ตาม) นักออกแบบจะใช้หลักการต่าง ๆ เพื่อช่วยกำหนดกรอบการตัดสินใจ กล่าวโดยกว้าง ๆ ได้ว่าหลักการเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นจากการทดลองและความผิดพลาดที่นำไปสู่การพัฒนาและรอดพ้นจากความล้มเหลว จากหลักการเหล่านี้เราได้เลือกมา 3 ข้อ  
 
หลักการข้อแรกซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนักคือ  “ประโยชน์ใช้สอยมาก่อนรูปแบบ” ซึ่งได้รับการเปิดเผยโดยสถาปนิกชื่อดังอย่าง Louis H. Sullivan ที่รู้จักกันในฉายาบิดาแห่งตึกระฟ้า (Father of the Skyscraper) ได้กล่าวไว้ในผลงานเขียนของเขาในปี 1896 เรื่อง "The Tall Office Building Artistically Considered" ว่า:  
 
“ไม่ว่าจะเป็นเหยี่ยวที่บินโฉบไปมา หรือดอกแอปเปิลที่ผลิบาน ม้าที่ทำงานอย่างหนัก หงส์ที่เริงร่า ต้นโอ๊คที่กำลังแตกกิ่งก้านสาขา กระแสลมที่พัดโบก ก้อมเมฆที่ล่องลอย แม้แต่ดวงอาทิตย์ที่เคลื่อนที่ไป ล้วนเป็นหลักการของประโยชน์ใช้สอยมาก่อนรูปแบบ และนี่คือกฎ เมื่อประโยชน์ใช้สอยไม่เปลี่ยนรูปแบบก็ไม่เปลี่ยน หินแกรนิต เนินเขาสูงชันยังคงอยู่ยงชั่วอายุ สายฟ้ามีอยู่และก่อตัวเป็นรูปร่าง และหายไปในชั่วพริบตา.” - Louis H. Sullivan 
 
นอกจากภาพพจน์ที่สวยงามแล้ว Louis H Sullivan ได้แสดงแนวคิดว่าการออกแบบภายนอกอาคารสูงนั้นควรสะท้อนการใช้งานของภายในอาคารด้วย นั่นคือ รูปแบบ (การออกแบบ) มาหลังประโยชน์ใช้สอย (วัตถุประสงค์) ซึ่งแนวคิดนี้ถูกนำมาปรับใช้โดยนักออกแบบอุตสาหกรรม Henry Dreyfuss ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกในยุคนั้นและเป็นผู้สร้างเทอร์โมสตัทแบบกลม ช่วยให้แนวคิด “ประโยชน์ใช้สอยมาก่อนรูปแบบ” เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจนกลายเป็นหลักการออกแบบชั้นนำข้อหนึ่ง  

 

ประโยชน์ใช้สอยมาก่อนรูปแบบ (Form Follows Function)

 

สำหรับบทความนี้ เราเริ่มต้นการเดินทางของเราในปี 1981 ด้วยเครื่องปรับอากาศรุ่นหน้าต่างของฮิตาชิ สิ่งที่จำเป็นต้องพูดถึงส่วนครึ่งหลังของตัวเครื่องที่จะต้องติดเข้ากับหน้าต่างทำหน้าที่ปล่อยระบายอากาศร้อนออกจากจากห้อง เครื่องปรับอากาศประเภทนี้เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วตั้งแต่ทศวรรษ 1690 เป็นต้นมาโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ที่มีการเปิดตลาดระบบปรับอากาศ HVAC สู่ ‘ครอบครัวระดับปานกลาง’ ก่อนที่เทคโนโลยีเฉพาะนี้จะถูกเปลี่ยนมาเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน

 

evolution of ac window air conditioners 

 

เครื่องปรับอากาศของ Hitachi Cooling & Heating รุ่นเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนที่มีประโยชน์ใช้สอยไม่มาก ได้แก่ การทำความเย็น การระบายอากาศ และการลดความชื้น ส่วนการออกแบบเครื่องปรับอากาศแบบหน้าต่างนั้นเป็นไปเพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์การใช้งานได้ง่าย ระบบควบคุมถูกวางไว้ที่ด้านหน้าของตัวเครื่องเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานได้ทันทีหรือมีการเชื่อมต่อกับสายไฟ ซึ่งสายไฟเหล่านี้ถือเป็นก้าวแรกของรีโมทคอนโทรลแบบไร้สายในเวลาต่อมานั่นเอง ในยุคนั้นเทคโนโลยีเน้นที่ความน่าสนใจมากกว่าความสวยงาม ซึ่งสไตล์ความชอบในขณะนั้นก็จะเป็นลายไม้ที่เป็นที่นิยมอย่างมาก ส่วนช่องพาอากาศเข้าและช่องระบายอออกทำจากพลาสติกสีเทาและสีขาวทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์  
 
 
นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาเครื่องปรับอากาศแบบชุดที่ออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่การค้า ด้วยการออกแบบที่เฉพาะตัวที่มีช่องระบายอากาศที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนยิ่งช่วยในการส่งอากาศและการหมุนเวียนของอากาศได้ดี จะเห็นได้จากรุ่นแขวนลอยของเราด้านบนตั้งแต่ปี 1983 ส่วนระบบตั้งพื้นตั้งแต่ปี 1984 ยังคงเน้นที่ช่องระบายอากาศเพื่อให้คนใช้งานสามารถปรับการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้สอยโดยที่ไม่ทำให้เกะกะพื้นที่มากนัก 

 

evolution of packaged air conditioners

 

จนกระทั่งปลายทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและสถาปัตยกรรมของเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัย โดยเน้นที่ประโยชน์ใช้สอยและวัตถุประสงค์การใช้งานเครื่องปรับอากาศ ซึ่งวิศวกรและนักออกแบบได้ผลักดันการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ที่สื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น

 

 

อารมณ์ความรู้สึกมาก่อนรูปแบบ (Form Follows Emotion)

 

แนวคิด “อารมณ์ความรู้สึกมาก่อนรูปแบบ” ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักออกแบบอุตสาหกรรมสัญชาติเยอรมัน-อเมริกันนามว่า Hartmut Esslinger ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบอย่างบริษัท  Frog Design Inc. แนวคิดนี้ถือเป็นการพัฒนาต่อยอดจากการการค้นคว้าของ Louis Sullivan ที่เน้นรูปแบบประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก  อาชีพของ Esslinger ได้ทำงานร่วมกับ Steve Jobs ที่ภาษาการออกแบบ “Snow White” ของบริษัท Apple Computer ซึ่งเป็นการแนะนำให้โลกได้รู้จักวิธีการออกแบบนี้ เป็นภาษาที่ง่าย ใช้งานได้จริง และประทับใจผู้ใช้  
 
“เมื่อคิดถึงหลักอารมณ์ความรู้สึกมาก่อนรูปแบบ ไม่ได้หมายถึงการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้หรือใช้งานไม่ได้ แต่เป็นการทำสินค้าหรือบริการที่เร้าให้เกิดปฏิกิริยาทางอรมณ์ ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้คนรู้สึก ‘ว้าว’ นั่นเอง.” - Turi McKinley กรรมการบริหาร Frog, นิวยอร์กซิตี้  
 
ตัวอย่างของหลักการ “อารมณ์ความรู้สึกมาก่อนรูปแบบ” คือการทำรถยนต์ให้รู้สึกว่ารถยนต์คันนี้วิ่งเร็วแม้ว่าจะอยู่นิ่งกับที่ ที่ Hitachi Hitachi Cooling & Heating เราต้องการให้เครื่องปรับอากาศของเราดูและรู้สึกว่าลงตัวและทันสมัยมากขึ้น ในขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปและระบบแบบแยกเดี่ยวเริ่มมีการเปิดตัว ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ก่อนหน้านี้เคยถูกใส่ไว้ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวบัดนี้ถูกแยกออกเป็นชุดอุปกรณ์ภายนอกและชุดอุปกรณ์ภายใน ทำให้วิศวกรต้องทำงานมากขึ้นกับรูปแบบของเครื่องปรับอากาศของเรารวมถึงต้องคิดมากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเครื่องปรับอากาศและพื้นที่และเจ้าของบ้าน  
 
ในปี 1996 เครื่องปรับอากาศแบบติดผนังรุ่น H-Series ของเราทำให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของการการเปลี่ยนผ่านจากแนวคิด “ประโยชน์ใช้สอยมาก่อนรูปแบบ” มาเป็น “อารมณ์ความรู้สึกมาก่อนรูปแบบ” รูปทรงของตัวเครื่องบางลงและดูหรูหราขึ้น ระบบควบคุมไม่ขัดกับการออกแบบและใช้พื้นที่น้อย รวมถึงช่องนำอากาศเข้าและช่องระบายอากาศออกนั้นก็ดูกระชับมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อมองดูเครื่องปรับอากาศรุ่นนี้เราก็ยังมองว่ามันเป็นเครื่องใช้รวมทั้งเข้าใจประโยชน์ใช้สอยของมัน  

 

form follows emotion ac design history

 

ข้ามไปยังปี 2002 เมื่อเราได้เปิดตัวเครื่องปรับอากาศรุ่น PAM Shirokumakun ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้หลักการ “ประโยชน์ใช้สอยมาก่อนรูปแบบ” แต่มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงและการใช้องค์ประกอบการออกแบบตกแต่ง ทำให้เริ่มเข้าใกล้การออกแบบที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์มากขึ้น เราต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของเรามีความเข้ากันอย่างลงตัวมากขึ้นและมีรูปทรงที่สวยงามน่ามอง และทำให้เครื่องปรับอากาศของเรากลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อม

 

ac design evolution split system

 

ในปี 2007 และ 2008 ผลิตภัณฑ์รุ่น SHIROKUMAKUN S ซีรีส์ได้ผสมผสานการใช้อารมณ์ความรู้สึกได้อย่างชัดเจนด้วยการตกแต่งพื้นผิวสัมผัสของตัวเครื่องด้วยสีเมทัลลิค โดยมีจุดประสงค์เพื่อปลุกให้เกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์จากลูกค้าและให้ลูกค้าเห็นเป็นมากกว่าเครื่องปรับอากาศนั่นเอง นอกจากนั้น เราจะเห็นได้ว่าช่องระบายอากาศถูกซ่อนจนมองไม่เห็นเลย เปลี่ยนความสวยงามของเครื่องปรับอากาศไปจากเครื่องที่เน้นการการใช้งานเป็นเครื่องที่ดูร่วมสมัยและล้ำค่ามากขึ้น

 

 

อารมณ์ความรู้สึกมาก่อนรูปแบบ - การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล

 

ช่วงปลายทศวรรษ 2000 เป็นช่วงที่เกิดการแพร่หลายของเทคโนโลยีดิจิทัล และส่งผลต่อการใช้ชีวิตส่วนตัวและอาชีพการงาน ไม่เพียงแต่ทำให้วิธีการสื่อสารระหว่างกันรวมถึงวิธีการทำงานพัฒนาขึ้นเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรากับเทคโนโลยีไปด้วย การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลนี้ผลักดันให้เราก้าวสู่โลกแห่งการเชื่อมต่อ การดำเนินการและการตอบสนอง

 

air conditioner motion sensor development

 

ผลิตภัณฑ์รุ่น SHIROKUMA-KUN S ซีรีส์ที่ออกจำหน่ายในปี 2012 ดังที่เห็นด้านบนเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลของผลิตภัณฑ์ของเรา โดยีการเปิดตัวเซนเซอร์กล้อง เทคโนโลยีอินฟาเรด และฟังก์ชั่นการทำงานที่ออกแบบให้สอดรับกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เครื่องทำงาน

 

digital transformation of ac and control apps

 

ด้วยการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลของเครื่องใช้และเทคโนโลยีสำหรับบ้านที่รุดหน้าอย่างรวดเร็ว จึงเกิดการคิดค้นด้านสีและคุณสมบัติทางเทคนิครวมถึงการใช้งานเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัยของเราเพิ่มเติม เครื่องปรับอากาศด้านบนนี้เป็นเครื่องในรุ่น S Series ที่มีระบบ Scene Camera Air Sleep ที่ได้รับรางวัลมาแล้ว เป็นระบบที่เซนเซอร์ความเคลื่อนไหวของมนุษย์เพื่อตรวจสอบสภาพการนอนหลับพร้อมให้ระดับความสบายที่สูงขึ้นแต่ยังคงปละหยัดพลังงานได้ดีเยี่ยม  
 
การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลของเครื่องใช้ในบ้านและการเชื่อมต่อที่กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีอัจฉริยะ เป็นสิ่งที่กำลังนำพาเราไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ ในปัจจุบันที่อุปกรณ์ต่าง ๆของเรามีการเชื่อมต่อระหว่างกันผ่านระบบคลาวด์ วิศวกรต่างกำลังหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มประสบการณ์และประโยชน์ที่จะได้รับจากการเชื่อมต่อระหว่างเรากับอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น  

 

 

ประสบการณ์มาก่อนรูปแบบ (Form Follows Experience)

 

แม้จะไม่ใช่คำทางการที่นักออกแบบอุตสาหกรรมใช้กัน แต่ข้อความที่ว่า “ประสบการณ์มาก่อนรูปแบบ” ก็เป็นข้อความที่มีการใช้กันตลอดยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงการออกแบบผลิตภัณฑ์สู่ยุคดิจิทัล โดยเน้นตอบโจทย์ที่ว่า พื้นที่ ผลิตภัณฑ์ และการเชื่อมต่อระบบดิจิทัลนั้นจะสร้างประสบการณ์ได้อย่างไร ทั้งโดยที่มีการโต้ตอบระหว่างกันแบบที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งการปรับเพิ่มประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีในบ้านและที่ทำงานในปัจจุบันนั้นทำได้โดยการเชื่อมต่อ เทคโนโลยี  Internet of Things เป็นการพัฒนาประสบการณ์ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ เป็นการทำงานร่วมกันของระบบต่าง ๆ ที่โต้ตอบระหว่าง ๆ และเราได้นำมาใช้กับเทคโนโลยี HVAC ด้วย 
 
เพื่อมอบประสบการณ์ดังกล่าว เราจึงออกชุดแอปพลิเคชั่น airCloud ที่เปลี่ยนวิธีการทำงานและจัดการกับผลิตภัณฑ์ของเรา จากเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัยสู่ระบบปรับอากาศแบบ VRF ที่สมบูรณ์แบบ เราต้องการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องกับผู้ใช้งาน ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีฟังก์ชั่นการทำงานครบทั้งหมดที่คุณต้องการเท่านั้นแต่ยังให้ประสบการณ์ที่คุณพอใจอีกด้วย   แอป airCloud ทำขึ้นสำหรับเจ้าของบ้า ส่วนแอป airCloud Go ช่วยเพิ่มประสบการณ์อัจฉริยะของเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัย ทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้กับลำโพงอัจฉริยะและระบบสั่งการด้วยเสียง นอกจากนี้ ยังมี airCloud Pro ที่รองรับระบบการจัดการที่ยืดหยุ่นสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นและส่งเสริมแนวคิดอาคารสีเขียว เหล่านี้เป็นการปรับตัวเล็ก ๆ เข้ากับวิธีการโต้ตอบกับเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ให้กับเรา  

 

airCloud Pro IOT remote design 

 

ควบคู่ไปกับการคิดค้นเทคโนโลยีดิจิทัลและแนวโน้มในการรวบระบบที่สมบูรณ์แบบ สิ่งหนึ่งที่เราต้องย้อนมามองนั่นคือ รูปแบบมาตรฐานการออกแบบเครื่องปรับอากาศแบบดั้งเดิมและอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ Silent-Iconic ของเราเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับรางวัล เป็นแผงชุดเครื่องปรับอากาศที่มีการออกแบบอย่างเรียบง่ายแต่สามารถกลมกลืนเข้ากับพื้นที่ได้อย่างเรียบเนียนไร้รอยต่อ เราต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างความพึงพอใจในรูปลักษณ์ภายนอกและยังสามารถทำงานได้อย่าง ไม่มีเสียง แถมช่วยเสริมการตกแต่งภายในให้กับพื้นที่ได้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Silent-Iconic ที่นี่

 

  ac contemporary design Silent-Iconic

 

ด้วยการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลของสิ่งต่าง ๆ ที่จุดประกายความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ อุปกรณ์เครื่องใช้จำเป็นต้องให้อะไรที่มากกว่าประโยชน์ใช้สอยทั่ว ๆ ไป  เราจะค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องปรับอากาศและต่อยอดให้ไกลกว่าการเป็นแค่อุปกรณ์เครื่องใช้และสร้างประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีเยี่ยมให้กับผลิตภัณฑ์และบริการจาก HITACHI Cooling & Heating 
 
หากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเรา โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา หรือ ติดต่อเราได้ที่นี่   

โดย Hitachi Cooling & Heating