ขณะนี้โรงพยาบาลไทยควรทำสิ่งใดเพื่อเตรียมรับการระบาดใหญ่ครั้งต่อไป

โรงพยาบาลและสถานดูแลสุขภาพทั่วโลกต่างไม่ทันตั้งตัวรับมือกับโควิด-19 การคิดใหม่เกี่ยวกับระบบ HVAC สำหรับโรงพยาบาลในประเทศไทยที่แก้ไขความสามารถการปรับใช้งานให้เหมาะสมในขณะเกิดการติดเชื้ออาจช่วยให้เราพร้อมมากขึ้นในครั้งหน้า

ภาพที่กล้าหาญและน่าเศร้าที่สุดจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 มาจากโรงพยาบาลทั่วโลก

ในอิตาลี ผู้คนทั่วประเทศร้องเพลงร่วมกันจากหน้าต่างและระเบียงเพื่อแสดงความขอบคุณต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในแนวหน้า ในอินเดีย ผู้ป่วยนอนตายบนทางเดินในโรงพยาบาล เนื่องจากหอผู้ป่วยในและผู้ติดเชื้อไม่พอเพียง และในประเทศไทย มีการใช้โรงแรม (ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ 'Hospitel') และโรงพยาบาลสนามเพื่อดูแลผู้ป่วย เนื่องจากระบบของโรงพยาบาลเองก็ประสบปัญหาคนไข้ล้นทะลักระหว่างการระบาดของเชื้อเดลต้า

 

การควบคุมการติดเชื้อ

เมื่อพูดถึงโควิด-19 โรงพยาบาลมีความสำคัญต่อผู้ป่วยมากที่สุด ด้วยเครื่องช่วยหายใจและดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤตซึ่งช่วยชีวิตคนไข้หลายหมื่นคน

แต่สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลด้วยเหตุผลอื่น ก็สามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้จากที่แห่งเดียวกันนี้เช่นกัน

มีผลการศึกษาวิเคราะห์ของโรงพยาบาลในสหราชอาณาจักรเมื่อเดือนธันวาคม 2020 พบว่า 1 ใน 4 ของผู้ป่วยในของโรงพยาบาล (และ 1 ใน 3 ในบางแห่ง) ที่เข้ารับการรักษาด้วยเหตุผลอื่นนั้น ติดโควิด-19 จากโรงพยาบาล

มีการรายงานตัวเลขที่คล้ายกันทั่วโลก บางกรณีในประเทศจีน มีผู้ป่วยโควิด-19 รุนแรงถึง 44% ที่ติดเชื้อจากการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

งานวิจัยอีกหนึ่งฉบับที่เผยแพร่ใน The Lancet พบว่าบุคลากรทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าประชากรทั่วไปถึง 10 เท่า

มีเหตุผลที่ชัดเจนบางประการสำหรับเรื่องนี้ เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ในโรงพยาบาล รวมถึงการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ในบางประเทศ

แต่ประการที่สามคือโรงพยาบาลส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อทางอากาศ

 

บทบาทของระบบ HVAC

การระบาดใหญ่ที่โหดร้ายนี้แสดงให้เห็นว่าโรงพยาบาลและสถานดูแลสุขภาพ ซึ่งต่างสร้างขึ้นโดยคำนึงถึงการใช้งานเฉพาะสำหรับห้องต่าง ๆ เป็นหลักนั้น ดิ้นรนเพื่อให้มีความคล่องตัวที่จะปกป้องผู้ป่วยอื่น ๆ  เจ้าหน้าที่ที่ดูแลสุขภาพ และครอบครัวของพวกเขาอย่างเต็มที่

ในขณะที่โคโรนาไวรัสมีความสามารถและแพร่กระจายผ่านพื้นผิวรวมทั้งการผ่านฝอยละอองขนาดใหญ่ (Droplet) การแพร่กระจายทางอากาศโดยผ่านฝอยละอองขนาดเล็ก (Aerosol) ก็พิสูจน์ว่าเป็นหนึ่งในตัวนำโรคที่เป็นปัญหาที่แก้ได้ยากที่สุดสำหรับการแพร่กระจายไวรัส

นี่คือประเด็นที่การออกแบบและการทำงานของระบบ HVAC ของสถานดูแลสุขภาพสามารถสร้างความแตกต่างอย่างมากเกี่ยวกับปริมาณฝอยละอองขนาดเล็กและไวรัสที่สามารถแพร่กระจาย

มีสองวิธีหลักที่ระบบ HVAC สามารถช่วยหรือขัดขวางการแพร่กระจายนี้ วิธีแรกคือการรักษาคุณภาพอากาศ ซึ่งดูว่ามีการทำงานที่ดีเพียงใดในแง่ของการระบายอากาศ กรองอากาศ และการฆ่าเชื้อในอากาศ วิธีที่สองคือผ่านรูปแบบการหมุนเวียนของอากาศ

 

คุณภาพอากาศ

ปกติแล้วโรงพยาบาลและสถานดูแลสุขภาพมักจะมีคุณภาพอากาศที่ดีกว่าอาคารอื่น ๆ เกือบทั้งหมด ยกเว้นโรงงานผลิตโดยเฉพาะบางแห่ง

โดยทั่วไป จะใช้อัตราการระบายอากาศและการกรองอากาศขั้นสูงเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ห้องผ่าตัด

เรารู้ว่าการเพิ่มปริมาณอากาศจากภายนอกเข้าสู่อาคาร หรือการเร่งอัตรการไหลเพื่อแทนที่อากาศในอาคารด้วยอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกนั้น สามารถลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรคในอากาศได้มาก

เรายังทราบอีกว่าในสถานการณ์ที่ไม่สามารถหมุนเวียนอากาศบริสุทธิ์เข้าและทิ้งออกไปได้จำนวนมาก การบังคับให้มวลอากาศนั้นผ่านตัวกรองประสิทธิภาพสูงก่อนหมุนเวียนกลับเข้าไปใหม่ ก็เป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคได้เช่นกัน

แน่นอนว่าปัญหาของทั้งสองวิธีนี้คือปริมาณพลังงานที่ต้องใช้ การทำความร้อน การทำความเย็น และการทำความสะอาดอากาศล้วนแล้วแต่ต้องใช้พลังงาน และการเพิ่มปริมาณอากาศที่ต้องบำบัดจะทำให้ใช้พลังงานมากขึ้น

ทั้งนี้ระบบ HVAC ในโรงพยาบาลมีการใช้พลังงานคิดเป็นสัดส่วนระหว่างหนึ่งในสามถึงสองในสามอยู่แล้ว

 

การไหลเวียนของอากาศ

สิ่งที่สำคัญพอ ๆ กับคุณภาพของอากาศที่นำเข้าโรงพยาบาลหรือสถานดูแลสุขภาพก็คือการไหลเวียนของอากาศ

หากรูปแบบการไหลเวียนอากาศนำพาฝอยละอองขนาดเล็กจากผู้ติดเชื้อไปสู่ผู้อื่น โรคก็จะแพร่กระจาย ในทำนองเดียวกัน บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทต่ำหรืออากาศนิ่งก็อาจทำให้เชื้อโรคสะสมจนถึงระดับที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้อื่นได้

ตัวอย่างเช่น ทางเดินของโรงพยาบาลมักถูกใช้เป็นเส้นทางไหลเวียนกลับของอากาศ อากาศที่ออกจากหอผู้ป่วยในปริมาณมากจะเข้าไปในตะแกรงดูดอากาศบริเวณทางเดินเหล่านั้น ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ลักษณะเช่นนี้ส่งผลให้เกิดการเพิ่มอัตราการติดเชื้อในเคาน์เตอร์ของพยาบาลซึ่งปกติแล้วจะอยู่ตรงข้ามกับหอผู้ป่วยใน

โซลูชันนี้ช่วยให้มั่นใจว่าห้องผู้ป่วยมีจุดตรวจจับอยู่ในตำแหน่งที่จำเป็นที่สุด แต่โซลูชันประเภทนี้อาจปรับเปลี่ยนได้ค่อนข้างยาก

 

อนาคตที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้

ในขณะที่ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ควรมาก่อนประสิทธิภาพการใช้พลังงานและจะเป็นเช่นนั้นเสมอ สถานที่ที่ออกแบบดีที่สุดควรให้ความใส่ใจกับทั้งสองเรื่องนี้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเมื่อเผชิญกับโรคติดต่อร้ายแรงเกี่ยวกับทางเดินหายใจตัวใหม่ในครั้งต่อไป

อุปกรณ์ HVAC ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและการควบคุมที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้นอาจนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายนี้ได้ แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต้องมีความสามารถการปรับใช้งานทั้งสองแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเผชิญกับโรคระบบทางเดินหายใจใหม่ ๆ ที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในภายภาคหน้า


ความสามารถในการปรับใช้งานนี้อาจมีหลายรูปแบบ แต่โดยมุ่งเน้นระบบที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่มีความเสี่ยงการติดเชื้อต่ำ สามารถเพิ่มคุณภาพอากาศและรูปแบบการไหลเวียนของอากาศที่ปลอดภัยได้ตามความจำเป็นในช่วงที่เกิดเหตุการณ์การติดเชื้อและการระบาดใหญ่

อาจหมายถึงการมีระบบ Standby Chiller เตรียมพร้อมเพื่อช่วยให้ระบบ HVAC จัดการกับอากาศภายนอกได้ในปริมาณที่มากขึ้นระหว่างเกิดเหตุการณ์การติดเชื้อ

และอาจหมายถึงการมีระบบ HVAC ที่สามารถเพิ่มลดปริมาณอากาศที่กรองได้ตามต้องการ ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าอากาศที่หมุนเวียนในระหว่างเหตุการณ์การติดเชื้อจะมีความเสี่ยงน้อยที่สุดโดยที่ไม่ใช้พลังงานโดยไม่จำเป็น

และยังอาจหมายถึงระบบไหลเวียนอากาศที่สามารถกำหนดค่าได้เพื่อสร้างพื้นที่ให้มีแรงดันที่ต้องการสำหรับเคาน์เตอร์พยาบาลและห้องเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามีความเสี่ยงของการติดเชื้อต่ำที่สุด

 

คว้าโอกาส

ทั้งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญจนถึงสิ้นปี 2021

ศักยภาพการเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และการที่ประชากรสูงวัยของประเทศไทยกำลังทวีเพิ่ม – 19.2% ของคนไทยอายุมากกว่า 60 ปีในปี 2019 แต่ภายในปี 2050 ตัวเลขจำนวนนี้จะพุ่งสูงถึง 35.8% – ดังนั้นระบบการดูแลสุขภาพจะต้องจัดการเรื่องคุณภาพอากาศให้ได้

ระบบ HVAC ที่ควบคุมและสามารถปรับใช้ได้ตามความต้องการนั้น ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงเชื้อโรคในอากาศ เพื่อเติมอากาศจากภายนอก และเพื่อให้สามารถกรองได้มากขึ้นเมื่อจำเป็น ทำให้เกิดกระแสความสนใจในการเปลี่ยนแปลง หากเราให้ความใส่ใจในเรื่องนี้ อนาคตด้านการดูแลสุขภาพของประเทศไทยก็จะเป็นไปในเชิงบวก

 

ต้องการดูเพิ่มเติมหรือไม่ ว่าความสามารถในการปรับใช้ระบบ HVAC ในด้านการดูแลสุขภาพช่วยให้เราเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายในอนาคตได้ดียิ่งขึ้นอย่างไร ดาวน์โหลดสมุดปกขาวของฮิตาชิ การวางแผนรับมือความไม่แน่นอน: เหตุใดโรงพยาบาลจึงต้องมีระบบ HVAC ที่สามารถปรับเข้ากับสถานการณ์ได้

โดย Hitachi Cooling & Heating